ตัวอักษรกระดาษทราย

              มีความจำเป็นมากที่เราต้องเล่นเกมที่เกี่ยวกับภาษากับเด็กๆ และให้เด็กได้มีโอกาสฝึกทักษะระบบการฟัง การแยกแยะความแตกต่าง และความจำ การแยกแยะความแตกต่างด้วยสายตา และความจำ ความเข้าใจ kinesthetic และความจำ ก่อนเริ่มแบบฝึกหัดตัวอักษรกระดาษทราย เด็กควรมีความสามารถในการพูดภาษา และความเข้าใจต่อเสียงของคำที่นำไปสู่คำศัพท์ต่างๆ ในภาษา

อุปกรณ์  

             ใช้กระดาษทรายตัดออกเป็นรูปทรงตัวอักษรต่างๆ แล้วประกอบเข้ากับแผ่นกระดาษสี โดยแยกสีน้ำเงินเป็นสระ และสีชมพูเป็นพยัญชนะ มีกลไกควบคุมความผิดพลาด คือ การขีดเส้นใต้ที่ด้านล่างของตัวอักษรเพื่อให้สามารถวางตั้งตัวอักษรได้อย่างไม่กลับด้าน

วัตถุประสงค์        

  • เพื่อพัฒนา kinesthetic ของเด็กต่อรูปทรงของตัวอักษรต่างๆ
  • เพื่อเชื่อมโยงการอ่านออกเสียง เข้ากับรูปทรงของตัวอักษร
  • เพื่อพัฒนาสิ่งที่สายตาเห็น และความจำรูปทรงของตัวอักษร
  • เพื่อเรียนรู้วิธีการเขียนตัวอักษรต่างๆ

ข้อแตกต่าง 

              ความแตกต่างระหว่างพื้นผิวที่เรียบ และหยาบ

อายุโดยประมาณ   

              3 – 4 ขวบ

การนำเสนอ           

               ในการนำเสนอระยะแรก ครูควรนำตัวอักษรที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านรูปทรง และการออกเสียง ใช้ “หลักสูตรสามระยะ” ในการสอนการอ่านออกเสียง

  • ขั้นแรก - (First Period)

               วางตัวอักษรไว้ข้างหน้าเด็ก โดยสัมผัสตัวอักษรด้วยนิ้วกลางและนิ้วชี้ ให้เห็นถึงจุดเริ่มต้น จากนั้นค่อยๆ ลากตัวอักษรดังกล่าวจากจุดเริ่มต้นไปจนจบ โดยครูอ่านออกเสียงตัวอักษรนั้นๆ ไปด้วย อย่างเช่น ตัว m  n  s  ชักชวนให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมด้วยการสัมผัสตัวอักษร และออกเสียงตาม ทำซ้ำสามถึงสี่ครั้ง ขึ้นอยู่กับเด็ก จากนั้นเปลี่ยนตัวอักษรและใช้วิธีการเดียวกันซ้ำอีก

  • ขั้นที่สอง - (Second Period)

               นำตัวอักษรตัวแรกกลับมาใหม่ ขณะนี้ตัวอักษรทั้งสองอยู่ข้างหน้าเด็ก ครูอ่านออกเสียงตัวอักษรและให้เด็กแสดงตัวอักษรที่ครูพูดถึง ให้ครูชวนเด็กเขียนตัวอักษรที่ครูพูดถึงด้วย และให้เด็กฝึกฝนหลายๆ ครั้งจนทำได้ ดำเนินต่อไปยังขั้นที่สามก็ต่อเมื่อเด็กมีความพร้อมแล้วเท่านั้น

  • ขั้นที่สาม - (Third Period)

               ให้จัดให้ทั้งสองตัวอักษรอยู่ด้านหน้าของเด็ก ครูชี้ไปที่ตัวใดตัวหนึ่งแล้วถามว่า “นี่คืออะไร” แล้วจึงถามเวียนจนครบทุกตัวอักษร จากนั้น ให้จบการนำเสนอด้วยการให้เด็กหัดฟังคำที่เริ่มต้นด้วยตัวอักษรแต่ละตัว เช่น ตัว B มีคำใดใช้ B นำหน้าบ้างเช่น banana, bus, bun เป็นต้น แล้วลองให้เด็กนึกคำอื่นๆ เพิ่มเติมดู ครูจะสังเกตได้ว่าเด็กบางคนจะมีความสามารถในการจับเสียงได้กว่าบางคน และอาจเรียนรู้เสียงได้ถึงสามเสียงในการนำเสนอเพียงครั้งเดียว

               เมื่อเด็กสามารถจดจำตัวอักษร และสามารถลากเขียนตัวอักษรได้แล้ว ลองให้เด็กปิดตาแล้วสัมผัสตัวอักษร และเรียกชื่อ รวมถึงในแบบฝึกหัดการเขียน นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของแบบฝึกหัดการอ่าน เมื่อเด็กเห็นตัวอักษร ก็จะอ่านตามตัวอักษรนั้นๆ ฉะนั้น สมองเด็กจะรับเอาความสามารถสองอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งในระยะหลังจะสามารถพัฒนาและแยกแยะได้ จนกระทั่งเป็นความสามารถทั้งในการอ่าน และการเขียน    (The Montessori Method หน้า 281)
               ในระยะแรกๆ ของการฝึกการเขียน ให้เด็กได้ลองเขียนตัวอักษรต่างๆ บนกระดานดำ หรือบนทราย ฯลฯ เพื่อให้เด็กเกิดความชำนาญก่อนการลงมือเขียนในกระดาษ และให้แน่ใจว่ามีกระดาษปริมาณมากเพียงพอสำหรับการฝึกเขียนของเด็ก
               ทั้งนี้ ไม่มีคำแนะนำพิเศษในการฟังเสียง แต่มอนเตสซอรีแนะนำว่าควรมีการแนะนำให้รู้จักกับสระก่อน (vowels) และพยัญชนะในบางคำที่มีความหมายพิเศษต่อเด็กๆ นอกจากนั้น ยังส่งเสริมให้มีการผสมตัวอักษรระหว่างพยัญชนะและสระเข้าด้วยกัน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้คำใหม่ๆ ด้วย เช่น “mi”  “da”เป็นต้น
               ครูอาจพิจารณาสอนเสียงสระเพียงหนึ่งหรือสองเสียง และสอนพยัญชนะ สี่หรือห้าตัว เพื่อให้เด็กสามารถเดินหน้าไปในกิจกรรมอื่นๆ ต่อไปได้ – ตัวอักษรขนาดใหญ่ที่สามารถหยิบจับได้  อาจช่วยเหลือเด็กได้ด้วยการสอนตัวอักษรที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้เกิดความง่ายขึ้น เช่น

               1. i  l  j  t  u  y
               2. b  h  m n  p
               3.  c  a  d  e  f  g  o  q  s
               4.  v  w  x  z  k

               เมื่อเด็กเริ่มทำกิจกรรมเขียน ให้แน่ใจว่าพื้นผิวของวัสดุที่เด็กจะเขียนลง เป็นผิวเรียบ ไม่ขรุขระเกินไป ไม่มันวาว ไม่เรียบไป หากจำเป็น ให้หากระดานรองเขียนให้เด็ก ควรมีทั้งโต๊ะ และเก้าอี้ที่มีขนาดพอเหมาะกับความสูงของเด็ก และมีแสงสว่างเพียงพอ
               ในห้องเรียนควรมีโต๊ะและเก้าอี้สำหรับนั่งเขียนหนังสือเตรียมไว้สำหรับกรณีเด็กเลือก การเขียนเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ต้องการทำ นอกจากนั้นควรมีดินสอ ปากกา ดินสอสี เตรียมไว้ให้เพียงพอ และอาจมีดินสอแบบ tripod ไว้สำหรับเด็กที่มีปัญหาการจับถือดินสอด้วย การเรียนการสอนแบบนี้อาจทำควบคู่ไปกับการเล่นเกมด้วย
               อาจจัดให้มีกล่องที่มีตัวอักษรประจำกล่องปรากฏอยู่ แล้วให้เด็กหยอดตัวอักษรที่ตรงกันลงไปในกล่องนั้นๆ หรืออาจจัดให้มีห่วงใส่ตัวอักษรประจำห่วง แล้วให้เด็กจัดแยกวัสดุ หรือวัตถุที่มีคำที่ใช้ตัวอักษรนั้นๆ นำหน้าในการสะกด ก็ได้
               เล่น board games – ประดิษฐ์แผ่นไพ่ที่มีรูปภาพหรือตัวอักษร และให้มีลูกเต๋าที่มีตัวอักษรแต่ละตัวในแต่ละด้านของลูกเต๋า แล้วให้เด็กโยนลูกเต๋า ได้ตัวใด ก็ให้เด็กชี้ตัวอักษรที่ตรงกับลูกเต๋าที่ได้ นอกจากนั้น ยังมีเกมสนุกๆ อื่นๆ อีกมากมายที่อาจนำไปใช้เล่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก